IOT (Internet of things) คืออะไร

Internet of things

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า IOT (Internet of Things) ผ่านหูผ่านตามาบ่อยครั้งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เข้าใจสักทีว่าจริงๆแล้วความหมายมันคืออะไร บทความนี้จะขยายความถึง IOT ให้ท่านได้เข้าใจกันโดยง่ายครับ ก่อนอื่นมาดูกันที่คำสองคำนี้ก่อน

Internet = อินเตอร์เน็ต things = สรรพสิ่ง

ดังนั้น อินเตอร์เน็ต + สรรพสิ่ง = อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ซึ่งก็คือความหมายของ IOT นั่นเอง ยังงงอยู่ใช่ไหมครับ ฮ่าๆๆ อ่านต่อเลย :)

“สรรพสิ่ง” กับ “อินเตอร์เน็ต”

เราทุกคนคงรู้จักคุ้นเคยกับ internet กันดีอยู่แล้ว แต่ไหนแต่ไรเจ้า internet นี้เป็นเครื่องมือแสนสะดวก ที่ใช้ช่วยในการส่งข่าวสารที่เรียกได้ว่าเปลี่นโลกกันเลยทีเดียว จากที่เคยต้องส่งจดหมายจีบสาวก็พิมพ์ Line ส่งได้เลย จากต้องไปแผงเทปซื้อ cd ก็ซื้อโหลดผ่านทาง iTune ได้ จะโอนเงินก็ไม่ต้องเดินทางไปธนาคาร จากต้องนั่งรถเมล์ไปซื้อหนังที่ pantip เดี่ยวนี้ก็ดูได้แบบเป็น streaming เลย… อุ๊ปซ์…

แม้จะสะดวกเพียงไร เมื่อเราต้องการจะใช้อินเตอร์เน็ต อุปกรณ์ที่เราต้องมีก็คือ คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเจ้าสองสิ่งนี้ก็คือ Thing หรือ “สิ่ง” ทางกลาง “สรรพสิ่ง” นั่นเอง ซึ่งแนวคิดของ IOT นี้ก็คือ “Anything that can be connected, will be connected” ซึ่งแปลได้ว่า อะไรที่ต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องต่อกับอินเตอร์เน็ต (ไม่ใช่เพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือโทรศ้พท์มือถือเท่านั้น)

ตัวอย่างของ Internet of Things

ถ้าเคยดูหนังฝรั่งเราจะเห็นผู้ร้ายอัจฉริยะบางคนสามารถ hack ระบบเข้าไปเปิดปิดไฟจราจร เปิดประตูห้องขังให้นักโทษได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือ internet of things นั่นเองกันครับ (ซึ่งจริงๆข้อเสียของการเข้าถึงทุกสิ่งจากทุกที่ในโลกได้ ก็คือการโดนแฮกเนี่ยแหละ) ตัวอย่างการนำ internet ไปติดกับสรรพสิ่งแล้วเกิดประโยชน์ที่น่าสนใจ เช่น

Smart home / Smart car – ลองคิดดูว่าถ้าเรามีอินเตอร์เน็ตอยู่ในรถและเครื่องใช้ไฟต่างๆทั่วบ้าน พอ gsp ในรถใกล้ถึงบ้านก็ส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตไปบอกหม้อหุงว่าให้อุ่นข้าวได้แล้วนะ หรือถ้าเราเดินออกไปจากบ้านแล้ว โทรศัพท์มือถือของเราก็ส่งข้อมูลไปบอกให้ประตูล็อคและปิดแก๊สปิดไฟได้อัตโนมัติ

Drone auto pilot – ทุกวันนี้จะส่งเอกสารด่วนทีไรต้องวิ่งไปจ้างพี่วินผ่ารถติด อันตรายก็อันตราย ลองคิดดูครับว่าถ้ามี Drone ที่คอยรับคำสั่งจากเราทางอินเตอร์เน็ตบินมารับเอกสารที่ต้นทาง เอาไปให้เซ็นต์ที่ปลายทางแล้วบินกลับมาส่งที่เดิมตาม GPS ชีวิตนี้จะสะดวกแค่ไหน

ยังมีไอเดียอีกมากมายนับไม่ถ้วน ที่จะเราจะสามารถสร้างประโยชน์จากการที่สิ่งต่างๆเชื่อมต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ตได้ มาถึงตรงนี้ น่าจะเข้าใจถึงเหตุผลที่เราควรเชื่อมต่อสิ่งต่างๆเข้าหากันด้วย internet แล้วนะครับ

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา internet of things

ตามหลักการแล้วเพียงแค่เรานำคอมพิวเตอร์หรือมือถือไปต่อกับสรรพสิ่งเพื่อรับส่งสัญญาณ เปิด/ปิด สิ่งต่างๆก็กลายเป็น Internet of Things ได้แล้วครับ แต่ในทางปฏิบัตินั้น เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะใหญ่เกินไปที่จะเอาไปติดกับกาต้มน้ำ ซ้ำยังเปลืองไฟ หรือมือถือเครื่องละ 30,000 บาทอาจจะไม่คุ้มที่จะนำมาใส่รถยนต์ทำเป็นเครื่องติดตาม GPS ดังนั้นอุปกรณ์ทางเลือกจึงเกิดขึ้นมาครับ

Raspberry Pi

Raspberry Pi

Raspberry PI เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ย่อส่วนครับ ถ้าสังเกตุจากในรูปจะเห็นช่องเสียบ usb ไว้ต่อ mouse คีย์บอร์ดมี hdmi ไว้ต่อจอ ราคาอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 บาท แม้ performance จะไม่สูงเท่ากับคอมพิวเตอร์หรือมือถือแต่ถือเหมาะสมและเพียงพอกับงาน IOT เลย pin เยอะๆที่ที่เห็นด้านหลังเอาไว้ใช้ไปสั่งการอุปกรณ์ต่างๆได้

Arduino

Arduino Board

พระเอกหลักของเวปไซต์เราครับ Arduino เป็น board micro controller ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกแต่ต่างกันไปตามการใช้งาน ข้อดีหลักๆคือ Arduino เป็น Hardware Opensource ซึ่งแปลอีกความหมายนึงก็คืออนุญาตให้ copy ได้และไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ ดังนั้นจึงเกิด Arduino compatible board ขึ้นมามากมายในจีน ซึ่งคุณภาพไม่ได้แย่กว่าของจริงเนื่องจากใช้อุปกรณ์ใกล้เคียงกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่นถ้าเราซื้อ Arduino Uno + ESP01 ก็สามารถทำ smart home เปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้านได้ด้วยงบประมาณ 400-500 บาทเท่านั้นเองครับ

นอกจากอุปกรณ์ที่กล่าวไปข้างต้น ปัจจุบันยังมี micro controller / mini computer มากมายออกมาเพื่อช่วยให้การพัฒนา Internet of Things เป็นไปได้ง่ายขึ้นและถูกลง หวังว่าผู้อ่านจะพอเข้าใจความหมายของ Internet of Things เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ

สอบถาม ติดชม เสนอแนะ ได้ที่ช่อง comment ด้านล่างเลยครับ

แหล่งซื้อราคาถูกสำหรับคนที่เพิ่งเริ่ม

ชุด Arduino kit สำหรับผู้เริ่มต้น
แนะนำให้ซื้อจาก AliExpress เป็นชุด Starter kits มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับผู้เริ่มเล่นครับ (ราคาประมาณ 600-700 บาท)

Copyright © 2023. All rights reserved - ThaiArduino.Club